ยินดีต้อนรับ!ทุกท่านสู่เว็บบล๊อคเพื่อการศึกษา ที่ว่าด้วยวิชา "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู "

ยินดีต้อนรับผู้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกทุกท่านคะ....... บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PC 9203 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ค่ะ จัดทำโดย นางสาววันวิสาข์ นาคผจญ คบ.4 คณิตศาสตร์ หมู่2 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556


คำอธิบายรายวิชา
........ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์ในรายวิชา
........เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
    1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
   2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
   3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
   4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
   5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
   6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้

   7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
   8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
   9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
  10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
  11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้

  12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
  13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
  14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
  15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้


เนื้อหาบทเรียน
   หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
  หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
  หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
  หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
  หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน


บูรณาการกับความพอเพียง


      ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษานั้น  จะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังสิ่งต่างๆให้แก่เด็ก  ดังนั้น  จึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน  เพราะเมื่อครูเข้าใจครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้   ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ   ครูจะต้องรู้จักพอก่อนโดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆที่เข้ามา  รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่  หมั่นศึกษาเพิ่มพูนความรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน   ไม่ก้าวกระโดด   ในการเลือกรับข้อมูลนั้นต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน  รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน   ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาจะได้รู้จักและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพและผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง






ความซื่อสัตย์ 

            เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร
            การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 1/2556 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้

         ระดับความซื่อสัตย์

              1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
                    .ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากจวามจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความาเข้าใจผิด
                    . หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
                    . ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
                    . ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
              2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
                    . ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
                    . ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
                    . ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
              3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
                    . รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
                    . ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
                    . ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
                    . ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
             4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
                   . ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
                   . ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
                   . ตักเตอืนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
                   . ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
              5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
                   . แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
                   . ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการ ทำงาน
                   . นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใกรทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

...ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์...

       1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม
       2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
       3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม
       4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
       5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากกความหวาดระแวง
       6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
       7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น
       8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น
       9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา
      10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
      11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม
      12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้